ความสำเร็จที่สำคัญของ BIMSTEC ตลอด 25 ปี

ก่อตั้งสำนักเลขาธิการบิมสเทค ณ กรุงธากา บังกลาเทศ เมื่อเดือนกันยายน 2557

บรรลุแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม (BIMSTEC Master Plan for Transport Connectivity) มีโครงการสำคัญจำนวน 267 โครงการ มูลค่า 124 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย

อยู่ระหว่างเจรจา

  1. ความตกลงยานยนต์ สําหรับการกํากับดูแลการขนส่ง ผู้โดยสาร บุคคล และสินค้าบรรทุกระหว่างประเทศสมาชิก
  2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล
  3. การศึกษาแผนแม่บทการจัดตั้งการเชื่อมโยงโครงข่าย ระบบไฟฟ้าภายใต้กรอบความร่วมมือบิมสเทค
  4. การจัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการด้านอุตสาหกรรม เชิงวัฒนธรรมในภูฏาน และการจัดตั้งศูนย์ ด้านพลังงานในอินเดีย

เอกสารที่สำคัญในกรอบบิมสเทค ที่ได้ลงนาม/ รับรองในการประชุม ผู้นําบิมสเทค ครั้งที่ 5 วันที่ 30 มีนาคม 2565

  1. กฎบัตรบิมสเทค
  2. อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา
  3. บันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีบิมสเทค
  4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถาบัน การทูตระหว่างกระทรวงการต่างประเทศบิมสเทค
  5. แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม

บิมสเทค สำคัญต่อไทยอย่างไร?

บิมสเทคเป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่เชื่อมภูมิภาคเอเชียใต้ กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในภูมิภาคอ่าวเบงกอล การมีบทบาทของไทยในบิมสเทคจะเป็นโอกาสช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย การเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านคน การเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทาน ของภูมิภาคเอเชียใต้ การสร้างเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน โดยใช้ศักยภาพของบิมสเทคที่มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกัน