เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และกลุ่มศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดเสวนาวิชาการ “25 ปีแห่งการสถาปนา BIMSTEC: ความจริง ความหวัง และโอกาส” ณ ห้องประชุม Pol 301 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีนักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจกว่า 300 คนเข้าร่วมกิจกรรม
การเสวนาดังกล่าว เปิดพื้นที่ให้นักวิชาการได้สะท้อนมุมมองถึงความจริง ความหวัง และโอกาส ภายใต้ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านหลากหลายมุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดย ดร.ศิริสุดา แสนอิว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านวัฒนธรรม โดย รศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดย ดร.ธนเชษฐ วิสัยจร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านสาธารณสุข โดย ผศ.สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านเทคโนโลยี โดย ดร.ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และดำเนินรายการโดย ดร.ดารุณี พุ่มแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นความร่วมมือซี่งประกอบไปด้วยชาติสมาชิก 7 ประเทศรอบอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย โดย BIMSTEC นับเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีศักยภาพในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากหากพิจารณาในแง่ของจำนวนประชากรและขนาดของเศรษฐกิจแล้วจะพบว่า ในปัจจุบันประเทศสมาชิกของ BIMSTEC มีประชากรรวมกันกว่า 1.68 พันล้านคน หรือ ประมาณ ร้อยละ 22 ของประชากรโลก โดยประเทศสมาชิกมี GDP รวมกัน 3.697 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จึงทำให้ภูมิภาคอ่าวเบงกอลมีความสำคัญทั้งในแง่ยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ และการค้า
โดยในปี 2565 – 2566 ประเทศไทยได้รับมอบตำแหน่งประธาน BIMSTEC และมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมสร้างให้อ่าวเบงกอลมีความมั่งคั่ง ยั่งยืน ฟื้นคืน และเปิดกว้าง (Prosperous, Resilient, Open BIMSTEC) หรือ “PRO BIMSTEC” และมุ่งใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG economic model) เป็นแนวคิดหลักในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในแต่ละสาขา ด้วยเหตุนี้ การเสวนาวิชาการ “25 ปีแห่งการสถาปนา BIMSTEC: ความจริง ความหวัง และโอกาส” ภายใต้โครงการการสร้างการรับรู้ BIMSTEC ในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีในการสร้างความตระหนักรู้ (awareness) เกี่ยวกับ BIMSTEC โดยเริ่มตั้งแต่การแนะนำเกี่ยวกับ BIMSTEC ไปจนถึงการสร้างความเข้าใจและการทำให้เห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของความร่วมมือดังกล่าวในหมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปซี่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนในภูมิภาคต่อไป
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถรับฟังบันทึกการเสวนาดังกล่าวได้ที่เพจเฟสบุ๊ค คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://www.facebook.com/polsciubu/videos/2869841969978995
ข่าว/ภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเสวนาดังกล่าว เปิดพื้นที่ให้นักวิชาการได้สะท้อนมุมมองถึงความจริง ความหวัง และโอกาส ภายใต้ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านหลากหลายมุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดย ดร.ศิริสุดา แสนอิว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านวัฒนธรรม โดย รศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดย ดร.ธนเชษฐ วิสัยจร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านสาธารณสุข โดย ผศ.สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุมมองด้านเทคโนโลยี โดย ดร.ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และดำเนินรายการโดย ดร.ดารุณี พุ่มแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นความร่วมมือซี่งประกอบไปด้วยชาติสมาชิก 7 ประเทศรอบอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย โดย BIMSTEC นับเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีศักยภาพในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากหากพิจารณาในแง่ของจำนวนประชากรและขนาดของเศรษฐกิจแล้วจะพบว่า ในปัจจุบันประเทศสมาชิกของ BIMSTEC มีประชากรรวมกันกว่า 1.68 พันล้านคน หรือ ประมาณ ร้อยละ 22 ของประชากรโลก โดยประเทศสมาชิกมี GDP รวมกัน 3.697 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จึงทำให้ภูมิภาคอ่าวเบงกอลมีความสำคัญทั้งในแง่ยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ และการค้า
โดยในปี 2565 – 2566 ประเทศไทยได้รับมอบตำแหน่งประธาน BIMSTEC และมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมสร้างให้อ่าวเบงกอลมีความมั่งคั่ง ยั่งยืน ฟื้นคืน และเปิดกว้าง (Prosperous, Resilient, Open BIMSTEC) หรือ “PRO BIMSTEC” และมุ่งใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG economic model) เป็นแนวคิดหลักในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในแต่ละสาขา ด้วยเหตุนี้ การเสวนาวิชาการ “25 ปีแห่งการสถาปนา BIMSTEC: ความจริง ความหวัง และโอกาส” ภายใต้โครงการการสร้างการรับรู้ BIMSTEC ในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีในการสร้างความตระหนักรู้ (awareness) เกี่ยวกับ BIMSTEC โดยเริ่มตั้งแต่การแนะนำเกี่ยวกับ BIMSTEC ไปจนถึงการสร้างความเข้าใจและการทำให้เห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของความร่วมมือดังกล่าวในหมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปซี่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนในภูมิภาคต่อไป
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถรับฟังบันทึกการเสวนาดังกล่าวได้ที่เพจเฟสบุ๊ค คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://www.facebook.com/polsciubu/videos/2869841969978995
ข่าว/ภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี