เมื่อวันที่ ๒๕-๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ นายสุนทร ชัยยินดีภูมิ ผู้ทรงคุณวุฒิจากไทย เป็นประธานในการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยการกำหนดทิศทางของบิมสเทคในอนาคต ครั้งที่ ๔ ณ สำนักเลขาธิการบิมสเทค กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ เพื่อหารือข้อเสนอแนะการดำเนินงานของบิมสเทคในอนาคต ซึ่งต่อยอดจากการประชุมฯ ครั้งที่ ๓ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗
การประชุมฯ ครั้งนี้ ได้หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ของบิมสเทค โดยเฉพาะ สาขาการค้า การลงทุน และการพัฒนา และสาขาความมั่นคง รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมความแข็งแกร่งเชิงสถาบันของบิมสเทค โดยพิจารณาแผนการดำเนินงานของบิมสเทคให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ (Bangkok Vision 2030)
ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ยังได้หารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของบิมสเทค (BIMSTEC Stakeholders) จากภาคส่วน ต่าง ๆ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ได้แก่ ๑) อดีตเลขาธิการบิมสเทค ๒) เครือข่ายคลังสมองด้านนโยบายของบิมสเทค (BIMSTEC Network of Policy Think Tanks) และ ๓) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของรัฐสมาชิกบิมสเทค เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น บทบาทหน้าที่ของสำนักเลขาธิการบิมสเทค การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในบิมสเทค อนาคตการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีบิมสเทค (BIMSTEC FTA) และบทบาทของภาคเอกชนในบิมสเทค
คณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยการกำหนดทิศทางของบิมสเทคในอนาคต เป็นผลมาจากข้อริเริ่มของที่ประชุมผู้นำบิมสเทค เมื่อปี ๒๕๕๙ ที่เมืองกัว ประเทศอินเดีย เพื่อเสริมสร้างให้บิมสเทคเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเน้นผลสัมฤทธิ์ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ มีหน้าที่พิจารณาการดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้กรอบบิมสเทคและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานของบิมสเทคในอนาคตที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอต่อผู้นำบิมสเทคในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ ๖ ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกันยายน ๒๕๖๗
การประชุมฯ ครั้งนี้ ได้หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ของบิมสเทค โดยเฉพาะ สาขาการค้า การลงทุน และการพัฒนา และสาขาความมั่นคง รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมความแข็งแกร่งเชิงสถาบันของบิมสเทค โดยพิจารณาแผนการดำเนินงานของบิมสเทคให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ (Bangkok Vision 2030)
ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ยังได้หารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของบิมสเทค (BIMSTEC Stakeholders) จากภาคส่วน ต่าง ๆ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ได้แก่ ๑) อดีตเลขาธิการบิมสเทค ๒) เครือข่ายคลังสมองด้านนโยบายของบิมสเทค (BIMSTEC Network of Policy Think Tanks) และ ๓) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของรัฐสมาชิกบิมสเทค เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น บทบาทหน้าที่ของสำนักเลขาธิการบิมสเทค การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในบิมสเทค อนาคตการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีบิมสเทค (BIMSTEC FTA) และบทบาทของภาคเอกชนในบิมสเทค
คณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยการกำหนดทิศทางของบิมสเทคในอนาคต เป็นผลมาจากข้อริเริ่มของที่ประชุมผู้นำบิมสเทค เมื่อปี ๒๕๕๙ ที่เมืองกัว ประเทศอินเดีย เพื่อเสริมสร้างให้บิมสเทคเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเน้นผลสัมฤทธิ์ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ มีหน้าที่พิจารณาการดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้กรอบบิมสเทคและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานของบิมสเทคในอนาคตที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอต่อผู้นำบิมสเทคในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ ๖ ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกันยายน ๒๕๖๗